กศน.อำเภอเก้าเลี้ยว ผ่านการประเมินเป็น
"ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2562"
ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเก้าเลี้ยว
สังกัด สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครสวรรค์
สถานที่ตั้ง 1/2 ม.1 ต.เก้าเลี้ยว อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60230
หมายเลขโทรศัพท์ 056 299 377 หมายเลขโทรสาร 056 299 377
Website : http://kal.ac.th/
ชื่อ / สกุล และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูแกนนำ
นางศิริพร สุดเล็ก ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอเก้าเลี้ยว หมายเลขโทรศัพท์ 093 131 5995
นางสาวณัฐกฤตา ฤทธิ์เทพ ครู กศน.ตำบลหัวดง หมายเลขโทรศัพท์ 062 423 1415
นายอภิเชษฐ์ ทรัพย์สำราญ ครู กศน.ตำบลหัวดง หมายเลขโทรศัพท์ 086 936 4047
นางสาวปาหนัน พัฒนพงษ์ คร กศน.ตำบลมหาโพธิ หมายเลขโทรศัพท์ 092 462 8254
นางณัฏฐณิชา เพ็ชรโต ครู กศน.ตำบลเขาดิน หมายเลขโทรศัพท์ 094 830 8458
นางวรรณรดา จำรัสกิตติวัลย์ ครู กศน.ตำบลหนองเต่า หมายเลขโทรศัพท์ 094 830 8458
นายธนาพิพัฒน์ พุ่มเพียร ครู กศน.ตำบลเก้าเลี้ยว หมายเลขโทรศัพท์ 085 576 6595
ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
ประวัติสถานศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ โดยกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน พร้อมกันทั่วประเทศจำนวน 789 แห่ง โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2534 ประกอบกับระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดการศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. 2536 เป็นสถานศึกษาในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน พ.ศ. 2536ข้อ 6 ในส่วนของอำเภอเก้าเลี้ยว มีชื่อว่า“ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเก้าเลี้ยว” ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2536 เรื่องจัดตั้งศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ
กิ่งอำเภอ โดยขอใช้อาคารเก็บพัสดุของสุขาภิบาลเก้าเลี้ยว เป็นสำนักงานชั่วคราว กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้แต่งตั้งให้ นายองอาจ อินเล็ก อาจารย์ 2 ระดับ 6 มาปฏิบัติราชการในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ 1 ตามคำสั่งกรมการศึกษานอกโรงเรียน ที่ 94/2537 ลงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537
ต่อมาปี พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนจำนวน 1,057,000.- บาท และต้องหาเงินมาสมทบอีก 538,813 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,595,813.- บาท โดยขอใช้ที่ดินของสุขาภิบาล
เก้าเลี้ยวเพื่อสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอเก้าเลี้ยว ลักษณะอาคารเป็นแบบ 2 ชั้นเริ่มก่อสร้างตามสัญญา วันที่
7 เมษายน 2541 สร้างเสร็จวันที่ 15 ธันวาคม 2541 ย้ายเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงานในวันที่ 1 มกราคม 2542 โดยแบ่งอาคารออกเป็น 2 ส่วน คือ ชั้นล่างเป็นอาคารสำนักงานศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเก้าเลี้ยว ชั้นบนใช้เป็นอาคารห้องสมุดประชาชนอำเภอเก้าเลี้ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537
ต่อมาเมื่อ วันที่ 3มีนาคม พ.ศ. 2551 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 ขึ้น และประกาศเปลี่ยนแปลงชื่อสถานศึกษาเป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเก้าเลี้ยว เรียกชื่อย่อว่า “กศน.อำเภอเก้าเลี้ยว” จนถึงปัจจุบัน
เอกลักษณ์ของสถานศึกษา / อัตลักษณ์ของนักเรียน
ปรัชญา
มีคุณธรรม นำอาชีพสู่เศรษฐกิจพอเพียง
วิสัยทัศน์
กศน.อำเภอเก้าเลี้ยว เป็นองค์กรหลักในการจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพทั่วถึง เหมาะสมกับทุกช่วงวัย บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรมที่สอดคล้องกับหลักของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและมีทักษะที่จำเป็นในโลกศตวรรษที่ 21
พันธกิจ
1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับการศึกษาให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมทุกช่วงวัย
2. ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานกับภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย รวมทั้งร่วมจัดกิจกรรมแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย
- ส่งเสริมและนำเทคโนโลยีทางการศึกษา เทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัด
การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง
- พัฒนาหลักสูตร รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรม การวัดและประเมินผลในทุก
รูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบัน
- พัฒนาบุคลากรและระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้การจัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยมีคุณภาพ
อัตลักษณ์
คุณธรรม กตัญญู อยู่อย่างพอเพียง
เอกลักษณ์
คุณธรรมนำความรู้
แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา เป็นฐานการเรียนรู้ถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 12 ฐาน
แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา เป็นฐานการเรียนรู้ถอดบทเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 5 ฐาน
ชื่อแหล่งเรียนรู้อื่น | ประเภทแหล่งเรียนรู้ | การใช้ประโยชน์ | ผู้รับผิดชอบ |
1.ฐานการปุ๋ยหมักชีวภาพ
| ปุ๋ยหมักชีวภาพ | เป็นสถานที่ให้ผู้เรียนและประชาชนได้เรียนรู้ มีความรู้ทักษะในด้านการบริหารจัดการดิน ,น้ำ,ป่า,พลังงาน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ | ครูธนาพิพัฒน์ พุ่มเพียร
|
2.ฐานปศุสัตว์ | การเลี้ยงเป็ด | เป็นสถานที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการเลี้ยงเป็ดสายพันธุ์ต่างๆ การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างเล้าเป็ด อาหารของเป็ด การทำอาหารเป็ด การเลี้ยงดู การเจริญเติบโต การเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็ด การเก็บไข่ รวมถึงเทคนิควิธีการเลี้ยงและสามารถนำมาประกอบอาชีพได้ และเรียนรู้วิธีการลดกลิ่นรบกวนเพื่อนและยัง เป็นแหล่งอาหารโปรตีนบริโภคในครัวเรือน หรือจำหน่ายเพิ่มรายได้ | ครูเพ็ญนภา พิพัฒน์ประดิษฐ์ |
3.ฐานสมุนไพร | การแปรรูปสมุนไพร | เป็นสถานที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแปรรูปสมุนไพรที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ และการสร้างรายได้จากการแปรรูปสมุนไพร การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และใช้วัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้เสริม | ครูวรรณรดา จำรัสกิตติวัลย์
|
4.ฐานแปรรูปฝรั่ง | การแปรรูปผลผลิตการเกษตร | เป็นสถานที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องการแปรรูปฝรั่งที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ และการสร้างรายได้จากการแปรรูปฝรั่งเป็นน้ำฝรั่ง ข้าวเกรียบฝรั่ง น้ำพริกฝรั่ง ฝรั่งหยี การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และใช้วัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่เพื่อสร้างรายได้เสริม | ครูณัฏฐณิชา เพ็ชรโต
|
5.ฐานอาหารไทยโบราณ | ศูนย์เรียนรู้อาหารไทยโบราณ | เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้เผยแพร่ข้อมูลด้านอาหารไทยโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 สืบทอดศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นบ้าน อนุรักษ์วัฒนธรรมการทำอาหารไทยโบราณ การจัดสำรับไทยโบราณ และอาหารทรงโปรดของรัชกาลที่ 5 | ครูปาหนัน พัฒนพงษ์ |
1.วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2564 กศน.ตำบลหัวดง โดย นางสาวณัฐกฤตา ฤทธิ์เทพ ครู กศน.ตำบลหัวดง และนายอภิเชษฐ์ ทรัพย์สำราญ ครู กศน.ตำบล จัดกิจกรรมโครงการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง น้อมนำพระบรมราโชบาย สู่หลักคิดอย่างพอเพียง อ่านที่นี่!
2.กศน.ตำบลหัวดง โดย นางสาวณัฐกฤตา ฤทธิ์เทพ ครู กศน.ตำบล ได้รับมอบหมายจาก นางศิริพร สุดเล็ก ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเก้าเลี้ยว นำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้หลักสูตรเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง Online "กิจกรรมหลักสูตรOnline ตามรอยพ่อ" อ่านที่นี่!